วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

การติดตั้งซอฟต์แวร์

การติดตั้งซอฟต์แวร์


การลงมือฝึกและปฏิบัติจริงเท่านั้นจึงจะนำไปสู่ความสำเร็จในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้ได้ผล แต่เพื่อให้มือใหม่เขียนโปรแกรมได้สะดวก จำต้องอาศัยเครื่องมือช่วย เพื่อให้เส้นทางการฝึกปฏิบัติเป็นไปอย่างราบรื่นไม่ติดขัด ในปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ช่วยเราเขียนโปรแกรมมากมาย แต่ส่วนใหญ่เป็นของนักเขียนโปรแกรมมืออาชีพ มีคุณสมบัติมากมาย มากเสียจนใช้งานลำบาก สื่อการสอนนี้ใช้ซอฟต์แวร์ช่วยพัฒนาโปรแกรมที่ชื่อว่า JLab มีคุณสมบัติเพียงพอสำหรับมือใหม่  ขอให้ดูขั้นตอนการติดตั้งในบทที่ 0 นี้
เมื่อติดตั้งเสร็จก็เริ่มเรียนเขียนโปรแกรมได้เลย

ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรม

เมื่อพร้อมเรียนเขียนโปรแกรม ก็เริ่มกันเลย บทนี้เริ่มด้วยการเร่งให้ผู้อ่านติดตั้งซอฟต์แวร์ช่วยพัฒนาโปรแกรมตั้งแต่ตอนนี้ แล้วเริ่มพิมพ์โปรแกรมเข้าเครื่อง พร้อมสั่งทำงานเลย อย่ากังวลว่าแต่ละบรรทัดที่พิมพ์นั้นมีความหมายอย่างไร จะเรียนเขียนโปรแกรม ก็ต้องฝึกพิมพ์ฝึกเขียนในทางปฏิบัติจริงเพื่อให้คุ้นเคย จากนั้นจึงทำความเข้าใจคร่าว ๆ เกี่ยวกับองค์ประกอบของโปรแกรมที่ประกอบด้วยคลาส คลาสประกอบด้วยเมท็อด และเมท็อดประกอบด้วยคำสั่ง ในช่วงแรกนี้เราจะเขียนแบบง่ายสุด ๆ คือหนึ่งโปรแกรมมีหนึ่งคลาส หนึ่งคลาสมีหนึ่งเมท็อด (แต่ภายในเมท็อดนี้ควรมีหลายคำสั่ง) เขียนโปรแกรมแล้วก็สั่งทำงานทันที ถ้าเขียนผิด ก็ต้องฝึกทักษะตีความข้อผิดพลาด และแก้ไขข้อผิดพลาดนั้น นอกจากนี้บทนี้ยังนำเสนอธรรมเนียมในการเขียนโปรแกรมที่ควรปฏิบัติตามเพื่อให้ได้โปรแกรมที่ทั้งสวยและอ่านง่าย

การประมวลผลจำนวน

คอมพิวเตอร์ชอบคำนวณ ซอฟต์แวร์ทั้งหลายที่เราใช้เล่นเกม ดูหนัง ฟังเพลง ค้นข้อมูล แชต เขียนบล็อก ทำรายงาน หรืออื่น ๆ ล้วนแล้วแต่ใช้การคำนวณเป็นพื้นฐานสำคัญในขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมเหล่านี้ จึงขอเริ่มนำเสนอการเขียนโปรแกรมด้วยเรื่องการบวกลบคูณหารจำนวนเต็มและจำนวนจริง การสร้างและการใช้งานตัวแปรเพื่อเก็บข้อมูลชั่วคราวระหว่างการประมวลผล วิธีการอ่านข้อมูลทางแป้นพิมพ์จากผู้ใช้ การเรียกใช้คลังคำสั่งคำนวณฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ที่ใช้บ่อย ๆ และปิดท้ายด้วยการทดสอบโปรแกรมและการแก้จุดบกพร่องของโปรแกรม

การทำงานแบบวงวน

คอมพิวเตอร์จำได้มาก คำนวณได้รวดเร็ว และไม่บ่นเมื่อสั่งให้ทำงานซ้ำๆ การทำซ้ำทำได้ง่าย ด้วยการเขียนคำสั่งซ้ำ หรือใช้วงวนซึ่งทำกลุ่มคำสั่งในวงวนซ้ำ ๆ บทนี้นำเสนอคำสั่งสร้างวงวน ในบางงานอาจใช้วงวนที่หมุนทำกลุ่มคำสั่งแบบไม่รู้จบ แต่บางงานก็อาจต้องการเพิ่มเงื่อนไขภายใน ให้ทดสอบว่า เมื่อใดจะกระโดดออกจากวงวน เพื่อทำคำสั่งอื่นต่อ ด้วยคำสั่งวงวนและคำสั่งทดสอบการออกจากวงวน ทำให้สามารถเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ไขปัญหาที่สลับซับซ้อนขึ้น จึงขอเสริมด้วยการนำเสนอเครื่องมือที่ช่วยร่าง ช่วยออกแบบ และช่วยบรรยายขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมเพื่อสื่อสารแนวคิดให้นักเขียนโปรแกรมด้วยกัน เข้าใจการทำงานของโปรแกรมได้ดีขึ้น

การทำงานแบบเลือก

การโปรแกรมให้เครื่องคอมพิวเตอร์รู้จักเลือกปฏิบัติ ทำอะไรบางอย่างขึ้นกับเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ทำให้ได้โปรแกรมที่ ฉลาดบทนี้ว่าด้วยคำสั่ง if และ if-else เพื่อทดสอบเงื่อนไขที่เขียนในรูปของนิพจน์ตรรกะซึ่งให้ผลเป็นค่าจริงหรือเท็จ คำสั่งอาจจะอยู่ในรูปของการให้ทำเมื่อเงื่อนไขเป็นจริงเท่านั้น หรือในรูปของการให้เลือกทำแบบจริงทำอย่างเท็จทำอีกอย่าง นิพจน์ตรรกะบรรยายเงื่อนไขที่ได้จากการเปรียบเทียบข้อมูล ผสมกับการเชื่อมด้วยตัวดำเนินการตรรกะ และ” “หรือ” “ไม่เพื่อบรรยายเงื่อนไขให้สื่อความหมาย การผสมการทำงานแบบวงวน ที่ภายในมีการเลือกปฏิบัติและการคำนวณ ส่งผลให้เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่แก้ไขปัญหาได้หลากหลายขึ้น

การประมวลผลข้อความ

คอมพิวเตอร์ชอบคำนวณ ชอบประมวลผลจำนวน แต่มนุษย์เราเข้าใจข้อความ ภาพ และเสียง ได้ดีกว่าจำนวน บทนี้นำเสนอการเขียนโปรแกรมเพื่อประมวลผลข้อความ จาวามีประเภทข้อมูลชื่อ String ที่ใช้ในการเก็บอักขระ ตัวอักษร ตัวเลข และเครื่องหมายของภาษาต่างๆ ที่ใช้สื่อสารกันในโลก นักเขียนโปรแกรมจาวาจึงต้องเข้าใจลักษณะ ความสามารถ และข้อจำกัดต่าง ๆ ของสตริง (หรือที่เรียกกันว่าสายอักขระ) นอกจากนี้จะนำเสนอคำสั่งวงวนเพิ่มเติมเพื่อให้เขียนวงวนได้สั้นกะทัดรัด รวมทั้งนำเสนอการอ่านเขียนแฟ้มข้อมูลที่เป็นข้อความ เพราะเป็นแหล่งที่มาของข้อความเพื่อการประมวลผล พร้อมทั้งการประยุกต์บริการต่าง ๆ ของสตริงในการประมวลผลข้อความ

โปรแกรมย่อย

การแยกโปรแกรมที่ใหญ่ออกเป็นส่วนย่อย ๆ เป็นหลักการพื้นฐานในการพัฒนาโปรแกรมที่ ลดความซับซ้อนและซ้ำซ้อน ให้ได้โปรแกรมที่จัดการ ปรับเปลี่ยน และบำรุงรักษาได้ง่าย โดยทั่วไปเราแบ่งโปรแกรมออกเป็นหลาย ๆ เมท็อด แต่ละเมท็อดมีชื่อที่สื่อความหมายตามหน้าที่ที่เมท็อดนั้นทำ เพื่อให้ผู้อื่นเรียกใช้ได้สะดวก และได้ใช้แล้วใช้อีก บทนี้นำเสนอองค์ประกอบ การเรียกใช้ และหลักการเขียนเมท็อดที่ดี ปิดท้ายด้วยการเขียนเมท็อดแบบเรียกซ้ำซึ่งเหมาะกับขั้นตอนการทำงานที่มีลักษณะของการแบ่งปัญหาใหญ่ออกเป็นปัญหาย่อย เพื่อหาคำตอบย่อยๆ ที่สามารถนำมารวมเป็นคำตอบของปัญหาใหญ่ได้

แถวลำดับ

เมื่อต้องประมวลผลข้อมูลที่เก็บในหน่วยความจำเป็นจำนวนมาก การใช้ตัวแปรหนึ่งตัวเก็บข้อมูลหนึ่งตัวคงไม่สะดวกแน่ แถวลำดับหรือเรียกว่าอาเรย์ คือโครงสร้างการจัดเก็บกลุ่มข้อมูลเป็นแถว ๆ แต่ละแถวมีชื่อกำกับ สามารถเข้าใช้ข้อมูลเหล่านี้ได้ด้วยเลขลำดับของข้อมูลในแถว ทำให้การประมวลผลข้อมูลในอาเรย์กระทำได้ง่าย อีกทั้งเหมาะกับการใช้วงวนเป็นกลไกหลักในการควบคุมการทำงาน ทำให้เขียนโปรแกรมได้กะทัดรัดและสวย บทนี้นำเสนอการสร้าง การใช้งาน และการเขียนเมท็อดที่จัดการเกี่ยวกับอาเรย์ ตลอดจนตัวอย่างการใช้งานอาเรย์ เช่น การค้นข้อมูล การเรียงลำดับข้อมูล การวาดกราฟเส้นจากข้อมูลอนุกรมเวลา การประมวลผลเมทริกซ์ การประ¬มวลผลรูปภาพ เป็นต้น

คลาสและอ็อบเจกต์

จากโปรแกรมที่เคยเขียนกันมาซึ่งมุ่งเน้นขั้นตอนการทำงานของคำสั่งต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาที่ต้องการ มาสู่แนวคิดการออกแบบเชิงวัตถุ ที่เน้นการออกแบบประเภทข้อมูลให้ตรงกับสภาพงานที่ต้องการประมวลผล โดยนิยามประเภทข้อมูลด้วยองค์ประกอบที่เป็นข้อมูลย่อย กับบริการที่มีให้เพื่อกระทำกับข้อมูลเหล่านั้น เราเรียกลักษณะของข้อมูลประเภทใหม่นี้ว่า คลาส และเรียกตัวข้อมูลที่ผลิตได้ว่า อ็อบเจกต์ เช่น บัญชี พนักงาน สินค้า เป็นต้น ซึ่งเปรียบเสมือนวัตถุสิ่งของที่เราผลิตมาเพื่อประมวลผลภายในโปรแกรม บทนี้นำเสนอองค์ประกอบของคลาส การสร้าง และการใช้งาน โดยยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมว่า จะเขียนคลาส และใช้งานอ็อบเจกต์อย่างไร

ความรู้พื้นฐานของเทคโนโลยีเครือข่าย

ความรู้พื้นฐานของเทคโนโลยีเครือข่าย
   ในปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งานในหน่วยงานประเภทต่างๆ มากมาย ซึ่งมีผลทำให้การทำงานในองค์กรหรือหน่วยงาน สามารถทำงานได้อย่างเป็นระบบ และสามารถพัฒนาการทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในองค์กร หรือหน่วยงานก็เริ่มมีการพัฒนาขึ้นแทนที่จะใช้ในลักษณะหนึ่งเครื่องต่อหนึ่งคน ก็ให้มีการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่างๆ มาเชื่อมต่อกัน เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
เป้าหมายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
1. มีการใช้ทรัพยากรทางฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ร่วมกัน เนื่องจากอุปกรณ์ทางคอมพิวเตอร์แต่ละชนิดราคาค่อนข้างสูง เพื่อให้ใช้ทรัพยากรเหล่านั้นอย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีการนำเอาอุปกรณ์เหล่านั้นมาใช้ร่วมกันเป็นส่วนกลาง เช่น เครื่องพิมพ์,พลอตเตอร์,ฮาร์ดดิสก์ และโปรแกรมต่าง ๆ เป็นต้น
2. สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ สำหรับทุกคนที่อยู่ในระบบเครือข่าย โดยไม่ต้องสนใจว่าข้อมูลเหล่านี้จะเก็บอยู่ที่ใด เช่น ผู้ใช้คนหนึ่งอาจจะอยู่ห่างจากสถานที่ที่เก็บข้อมูลถึง 1000 กิโลเมตร แต่เขาก็สามารถใช้ข้อมูลนี้ได้เหมือนกับข้อมูลเก็บอยู่ที่เดียวกับที่ๆ เขาทำงานอยู่ และยังสามารถกำหนดระดับการใช้ข้อมูลของผู้ใช้แต่ละคนได้ ซึ่งจะเป็นการรักษาความปลอดภัยสำหรับข้อมูลซึ่งอาจเป็นความลับ
3. การติดต่อระหว่างผู้ใช้แต่ละคนมีความสะดวกสบายขึ้น หากผู้ใช้อยู่ห่างกันมาก การติดต่ออาจไม่สะดวก ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีบทบาทในการเป็นตัวกลางในการติดต่อระหว่างผู้ใช้แต่ละคน ซึ่งอาจจะเป็นการติดต่อในลักษณะที่ผู้ใช้ที่ต้องติดต่อด้วยไม่อยู่ ก็อาจฝากข้อความเอาไว้ในระบบ เมื่อผู้ใช้คนนั้นเข้ามาใช้ระบบก็จะมีการแจ้ง ข่าวสารนั้นทันที
การแบ่งประเภทเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งได้ตามลักษณะต่างๆ ดังนี้คือ
·         ตามขนาด: แบ่งเป็น Workgroup , LAN , MAN และ WAN
·         ลักษณะการทำงาน: แบ่งเป็น peer-to-peer และ client-server
·         ตามรูปแบบ: แบ่งเป็น Bus ,Ring และ Star
·         ตาม bandwidth: แบ่งเป็น baseband และ broadband หรือว่าเป็น megabits และ gigabits
·         ตามสถาปัตยกรรม: แบ่งเป็น Ethernet หรือ Token-Ring
ในปัจจุบันเรานิยมจัดประเภทของเครือข่ายตามขนาดทางภูมิศาสตร์ที่ระบบเครือข่ายนั้นครอบคลุมอยู่ ได้แก่
1. ระบบเครือข่ายระยะใกล้ (LAN : Local Area Network) เป็นเครือข่ายซึ่งอุปกรณ์ทั้งหมดเชื่อมโยงกันอยู่ในพื้นที่ใกล้ๆ กัน เช่น อยู่ภายในแผนกเดียวกัน อยู่ภายในสำนักงาน หรืออยู่ภายในตึกเดียวกัน
2 . ระบบเครือข่ายระยะไกล (WAN : Wide Area Network) เป็นเครือข่ายที่ประกอบด้วยเครือข่าย LAN
ตั้งแต่ 2 วงขึ้นไปเชื่อมต่อกันในระยะทางที่ไกลมาก เช่น ระหว่างเมือง หรือระหว่างประเทศ
3. ระบบเครือข่ายบริเวณเมืองใหญ่ (MAN : Metropolitan Area Network) เป็นระบบที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ซึ่งอาจตั้งอยู่ห่างไกลกันในช่วง 5 ถึง 50 กิโลเมตร ผู้ใช้ระบบเครือข่ายแบบนี้มักจะเป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่จำเป็นจะต้องติดต่อสื่อสารข้อมูลผ่านระบบคอมพิวเตอร์ด้วยความเร็วสูงมาก โดยที่การสื่อสารนั้นจำกัดอยู่ภายในบริเวณเมือง

วิวัฒนาการเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

 

วิวัฒนาการเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
            สิ่งใดมีคุณอนันต์ย่อมมีโทษมหันต์ กิจกรรมประจำวันต่าง ๆ ของมนุษย์ล้วนแต่ได้รับผลกระทบจากคอมพิวเตอร์ในรูปแบบ สาระและเวลาที่แตกต่างกัน เช่น การใช้ ATM  และการสื่อสารทางโทรศัพท์ โดยการเข้ามาแทนที่การทำงานของมนุษย์ เช่น การทอนและนับเงิน การบันทึกการให้บริการ การออกใบเรียกเก็บเงิน การสั่งซื้อสินค้า และการนำฝากเช็ค เป็นต้น ทั้งนี้ชีวิตมนุษย์อาจขึ้นกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมการจราจรทางอากาศ หรืองานการรักษาพยาบาล นอกจากนั้น คอมพิวเตอร์ยังเก็บข้อมูลที่เป็นความลับทางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ หรือข้อมูลส่วนบุคคล เช่น แฟ้มข้อมูลบุคลากร แฟ้มข้อมูลที่บันทึกคดีอาญา ข้อมูลที่บันทึกลงในคอมพิวเตอร์ จัดเก็บได้เป็นจำนวนมาก ที่จัดเก็บมีขนาดเล็ก เช่น แผ่นดิสต์ หรือ ฮาร์ดดิสต์ สามารถเรียกใช้หรือดึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว จัดทำเครือข่ายเชื่อมโยงข้อมูล สามารถติดต่อถึงกันได้ทั่วประเทศหรือทั่วโลก
                จากแนวความคิดที่ต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์  2 เครื่อง สามารถติดต่อคุยกัน แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ มาสู่ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน ซึ่งใน 1 เครือข่ายนั้น อาจมีจำนวนเครื่องที่เป็นสมาชิกเครือข่าย นับสิบนับร้อยเครื่องเลยทีเดียว   ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีนำมาสู่ ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ( InterNet )  ซึ่งสามารถติดต่อสื่อสารกันระหว่างเครือข่ายได้ทั่วโลก
                                คอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง
                                1. ในระดับพื้นฐานของระบบเศรษฐกิจ เช่น ระบบการเงินที่ทำงานผ่านทางสายโทรศัพท์ และเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
                                2. ทำให้เกิดสินทรัพย์  (Commodity) ในรูปแบบใหม่ อันได้แก่ ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property))
                                3. ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบสังคม (Societal Shift) โดยปรับเปลี่ยนต่อเนื่องจากสังคมเกษตรกรรม (Agricultural) เป็นสังคมอุตสาหกรรม (Industrial) มาเป็นสังคมเทคโนโลยี (Technology)
                                4. ทำให้เกิดรูปแบบใหม่ของการใช้พลัง (Exercising Power) โดยมีลักษณะเป็น องค์กรอาชญากรรม และ การร่วมกันก่อการร้าย

อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ มีผู้ให้ความหมายไว้ 2 ประการ ได้แก่
                1. การกระทำใด ๆ ก็ตาม ที่เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ อันทำให้เหยื่อได้รับความเสียหาย และทำให้ผู้กระทำได้รับผลตอบแทน
            2. การกระทำผิดกฎหมายใด ๆ ซึ่งจะต้องใช้ความรู้เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ มาประกอบการกระผิด และต้องใช้ผู้มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์ ในการสืบสวน ติดตาม รวบรวมหลักฐาน เพื่อการดำเนินคดี จับกุม
อาชญากรทางคอมพิวเตอร์  ถ้าจะแปลให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือผู้กระทำผิดกฎหมายโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นส่วนสำคัญ เป็นการกระทำใดๆ ที่เกี่ยวกับการใช้การเข้าถึงข้อมูล  โดยที่ผู้กระทำไม่ได้รับอนุญาต การลักลอบแก้ไข ทำลาย คัดลอกข้อมูล ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานผิดพลาด แม้ไม่ถึงกับเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย แต่เป็นการกระทำที่ผิดระเบียบกฎเกณฑ์ จรรยาบรรณของการใช้คอมพิวเตอร์นั้นๆ

ความสัมพันธ์ระหว่างคอมพิวเตอร์กับอาชญากรรม

จากการที่คอมพิวเตอร์มีคุณประโยชน์นานับประการ จึงมีผู้นำเทคโนโลยีเหล่านั้น มาเป็นช่องทาง หรือเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการกระทำความผิด ซึ่งลักษณะหรือรูปแบบของความสัมพันธ์ระหว่างคอมพิวเตอร์กับอาชญากรรม พอสรุปได้ดังนี้
                1. คอมพิวเตอร์เป็นเป้าหมายในการก่ออาชญากรรม (Computer as Crime “Targets”) เช่น การลักทรัพย์เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ ชิ้นส่วนของเครื่องคอมพิวเตอร์ (ชิป หรือ ส่วนประกอบต่างๆ) โดยเฉพาะที่มีขนาดเล็ก แต่มีราคาแพง
                2. คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องอำนวยความสะดวก ในการก่ออาชญากรรมในรูปแบบ
 ดั้งเดิม” (Facilitation of “Traditional” Crimes) เช่น ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการเก็บข้อมูลลูกค้ายาเสพติด หรือ ในกรณี UNABOMBER ซึ่งอาชญากรใช้คอมพิวเตอร์ในการกำหนดตัวเหยื่อ จาก On-line Address  แล้วส่งระเบิดแสวงเครื่องไปทางไปรษณีย์ โดยวัตถุประสงค์เพื่อสังหารบุคคลที่ชอบเทคโนโลยีชั้นสูง
                3. อาชญากรรมที่เกิดกับคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ (Computer-unique Crime)  เช่น การสร้างให้ไวรัสคอมพิวเตอร์ (Computer Virus) แพร่ระบาดไปในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยมีเจตนาที่จะสร้างความเสียหาย ,Nuke, การลักลอบเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ (Hacking /Cracking) , การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (Violation of Computer Intellectual Properties)
                4.คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการประกอบอาชญากรรม(Computeras “Instrumentality” of Crimes)  เช่น การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการโอนเงินจากบัญชีธนาคาร จากบัญชีหนึ่งไปเข้าอีกบัญชีหนึ่ง โดยมีเจตนาทุจริต ,ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการเป็นเจ้ามือรับพนันเอาทรัพย์สิน,หรือ ใช้คอมพิวเตอร์ในการเผยแพร่เอกสาร สิ่งพิมพ์ รูปภาพ หรือ โฆษณาวัตถุ ลามก อนาจาร  ผิดกฎหมาย

อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ถูกละเลย

       สาเหตุบางประการที่ทำให้อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ถูกละเลย ไม่ได้รับความสนใจ
1.อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์โดยธรรมชาติจะมีความไม่เป็นส่วนตัว (Impersonal) จึงไม่มีผลกระทบต่อจิตใจและความรู้สึก (Emotion) ของประชาชนโดยทั่วไป และถูกมองข้ามไป
2.อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ เช่น การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา (Theft of Intellectual Property), การโอนเงินโดยผิดกฎหมาย (Unlawful Transfer of Money), การฉ้อโกงด้านการสื่อสาร (Telecommunication Fraud) มีความแตกต่างกับอาชญากรรมแบบดั้งเดิม ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจมีความคุ้นเคยและเข้าใจเป็นอย่างดี เช่นการลักทรัพย์, ทำร้ายร่างกาย อย่างสิ้นเชิง
3.เจ้าหน้าที่ตำรวจมักจะมองไม่เห็นว่าอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์นี้ เป็นปัญหาที่กระทบต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของตน  จึงไม่ให้ความสนใจ
4. อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์แตกต่างจากอาชญากรรมรุนแรง (Violent Crime) จุดความ รู้สึกให้เกิดอารมณ์ ( Emotion )ในหมู่ชน  จึงทำให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบมีความจำเป็นที่จะต้องทุ่มเท สรรพกำลังไปในการแก้ไขปัญหา อาชญากรรมในรูปแบบทั่วไป
5.อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ มีความเกี่ยวพันอย่างยิ่งกับเทคโนโลยีสมัยใหม่  ซึ่งจะทำให้บุคคลที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง เกิดความไม่กล้า (Intimidated) ในการที่จะเข้าไปยุ่งเกี่ยวข้องด้วย
6.บุคคลโดยส่วนมากจะมองอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ในลักษณะมิติเดี่ยว” (Unidimensionally) ในลักษณะสภาวะของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งๆ ไป โดยปราศจากการมองให้ลึกซึ้งถึง ผลกระทบ ความรุนแรง การแพร่กระจาย และปริมาณของความเสียหายที่เกิดขึ้น ในการก่ออาชญากรรมแต่ละครั้งนั้น
7.เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง และ ประสิทธิภาพในการใช้เทคโนโลยีของอาชญากร มีการพัฒนาที่รวดเร็ว ทำให้ยากต่อการเรียนรู้ถึงความเปลี่ยนแปลง ในวงการของอาชญากรรมประเภทนี้
8.ผู้เสียหาย กลับจะตกเป็นผู้ที่ถูกประนามว่า เป็นผู้เปิดช่องโอกาสให้กับอาชญากรในการกระทำผิดกฎหมาย เช่น ผู้เสียหายมักถูกตำหนิว่าไม่มีการวางระบบการรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสมกับโครงข่ายงานคอมพิวเตอร์ บางครั้งจึงมักไม่กล้าเปิดเผยว่า ระบบของตนถูกบุกรุกทำลาย
9.ทรัพย์สินทางปัญญาโดยทั่วไปจะไม่สามารถประเมินราคาความเสียหายได้อย่างแน่ชัด  จึงทำให้คนทั่วไปไม่รู้สึกถึงความรุนแรงของอาชญากรรมประเภทนี้
10.พนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องอาจไม่มีความรู้ ความชำนาญ หรือ ความสามารถพอเพียงที่จะสอบสวนดำเนินคดีกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
11.บุคคลทั่วไปมักมองเห็นว่า อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์นี้ ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง  จึงไม่ควรค่าต่อการให้ความสนใจ
12.เจ้าหน้าที่มักใช้ความรู้ความเข้าใจในอาชญากรรมแบบดั้งเดิมนำ มาใช้ในการ สืบสวนสอบสวนคดีอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเหตุให้อาชญากรรมประเภทนี้ไม่ครบองค์ประกอบความผิดตามอาชญากรรมแบบดั้งเดิม และถูกมองข้ามไปโดยไม่พบการกระทำผิด
13.เจ้าหน้าที่ตำรวจโดยทั่วไปไม่มีการเตรียมการเพื่อรองรับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์อย่างจริงจัง
14.ในปัจจุบันนี้ อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ไม่ใช่อาชญากรรมที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางการเมือง  เมื่อเทียบกับอาชญากรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์ หรือ ชีวิตร่างกาย ซึ่งทำให้ประชาชนเกิดความรู้สึกไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

แนวโน้มการศึกษาทางไกลในด้านประเภทของสื่อ

แนวโน้มการศึกษาทางไกลในด้านประเภทของสื่อ
            สื่อคอมพิวเตอร์ ระบบ Internet ดาวเทียม และโทรทัศน์ น่าจะเป็นสื่อที่ใช้ในการศึกษาทางไกลมากที่สุด ซึ่งสื่อเหล่านี้จะเข้ามามีบทบาทแทนที่สื่อเก่า ๆ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวิทยุกระจายเสียง เป็นต้น
            ในปัจจุบันเทคโนโลยีได้มีความเจริญก้าวหน้าและพัฒนาไปมาก สื่อในการศึกษาทางไกลจึงมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคตามสมัย ซึ่งสื่อประเภทคอมพิวเตอร์และระบบ Imternet ระบบดาวเทียมและโทรทัศน์ ถือได้ว่าเป็นสื่อการเรียนการสอนสมัยใหม่ เป็นสื่อประสม ซึ่งทำให้ผู้สอนกับผู้เรียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กันได้ มีการโต้ตอบกันได้ และมีผลย้อนกลับ (Feed Back) ผู้เรียนเกิดความสนใจและอยากที่จะเรียนรู้ตลอดเวลา อีกทั้งในระหว่างการเรียนการสอน ผู้เรียนถ้าเกิดไม่เข้าใจหรือสงสัยเกี่ยวกับเนื้อหาของวิชา ก็สามารถที่จะสอบถามกับผู้สอนได้ทันที แต่สื่อในลักษณะนี้ยังมีราคาที่ค่อนข้างสูง และยังมีไม่แพร่หลายมากนัก ดังนั้น สื่อการศึกษาทางไกลควรจะเน้นให้มีการสื่อสารในลักษณะที่เป็นผลย้อนกลับ ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน เพราะความแตกต่างของระดับการเรียนรู้ของผู้เรียนจะเห็นได้ว่า คนเราสามารถจำในสิ่งที่ตนอ่านได้เพียงร้อยละ 10 จำในสิ่งที่ได้ยินร้อยละ 20 จำในสิ่งที่ได้เห็นร้อยละ 30 จำในสิ่งที่ได้ยินและได้เห็นร้อยละ 50 จำในสิ่งที่พูดร้อยละ 70 จำในสิ่งที่พูดและปฏิบัติร้อยละ 90 (Raudsepp 1979 อ้างถึงใน น้ำทิพย์ สุนทรนันทา 2534) ซึ่งแสดงว่า สื่อที่ใช้ในกระบวนการเรียนการสอนถ้าเป็นสื่อที่ให้ผู้เรียนสามารถปฏิบัติได้ ยิ่งปฏิบัติได้มากเท่าใดก็จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มากยิ่งขึ้นเท่านั้น ดังนั้นสามารถสรุปได้ว่า สื่อการสอนแบบเก่าที่เป็นแบบสื่อทางเดียว จะทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพต่ำ และสื่อสมัยใหม่ที่เป็นลักษณะสองทางจะทำให้ผู้เรียนเกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้มากกว่า
            แนวโน้มการศึกษาทางไกลในด้านบุคลากร ในการศึกษาทางไกล จำเป็นต้องมีบุคคลกลุ่มต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการศึกษาทางไกล

แนวโน้มของรูปแบบการจัดการศึกษา

แนวโน้มของรูปแบบการจัดการศึกษา จะมีลักษณะดังต่อไปนี้ (สุภาณี เส็งศรี, 2543)
            1. จัดการเรียนการสอนตามความพร้อมแบบไม่จำกัดเวลา สถานที่ โดยเน้นปริมาณแต่คำนึงถึงคุณภาพเพื่อมาตรฐานการศึกษา
            2. ปฏิรูปการเรียนรู้โดยมุ่งจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
            3. มุ่งพัฒนา จัดหา และส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในกระบวนการเรียนการสอนทางไกล เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเข้าถึงแหล่งวิทยาการอย่างอิสระ
            4. ลดข้อจำกัดทางการศึกษาโดยเฉพาะมุ่งเน้นความเท่าเทียมทางการศึกษาในทุกชุมชนและส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งลดปัญหาการขาดผู้สอนซึ่งมีความรู้ความสามารถ
            5. เน้นการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม มีระเบียบวินัย และรับผิดชอบต่อสังคม
            6. สร้างความร่วมมือระหว่างองค์กร/สถาบันต่าง ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนวิชาการทั้งระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และนานาชาติ

วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554

แนวโน้มของเทคโนโลยีการศึกษ

แนวโน้มของเทคโนโลยีการศึกษา
            ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ของมนุษย์เป็นอย่างมาก การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องมาจากศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศในการขจัดข้อจำกัดของกาลเวลา และระยะทาง ส่งผลให้การแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลเกิดได้ในทุกเวลา และทุกสถานที่ ซึ่งจากวิวัฒนาการนี้เองได้ก่อให้เกิดรูปแบบการจัดการศึกษาแบบใหม่ที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา
เทคโนโลยีที่ใช้ในโครงการเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา
            เทคโนโลยีที่ใช้ในโครงการนี้ เป็นการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ โทรคมนาคมและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งจัดเป็นระบบการเรียนการสอนทางไกลแบบสองทาง
            เทคโนโลยีโทรประชุมทางไกล (Video Conference) ซึ่งเป็นเทคนิคใหม่ที่ใช้ในการสื่อสารระยะไกล เป็นการผสมผสานของสัญญาณภาพ สัญญาณเสียงและข้อมูลผนวกกับเทคโนโลยีของเครือข่ายและการสื่อสารเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของมนุษย์ที่สามารถโต้ตอบกันแบบ Real-time ระหว่างกลุ่ม 2 กลุ่มหรือมากกว่าซึ่งอยู่ห่างไกลกัน
            โดยสรุปแล้วระบบโทรประชุมทางไกล หมายถึง การประชุมทางไกลผ่านจอภาพ เป็นบริการที่ให้ทั้งภาพและเสียงในเวลาเดียวกัน โยผู้ใช้ทั้งต้นทางและปลายทางจะต้องติดตั้งอุปกรณ์ ซึ่งประกอบด้วย กล้องถ่ายภาพ จอภาพ อุปกรณ์แปลงสัญญาณ และชุดควบคุมการประชุมระหว่างจุดสองสุด จะต้องใช้อุปกรณ์สองชุดเชื่อมต่อกัน ส่วนการประชุมพร้อม ๆ กันนั้นจะต้องใช้อุปกรณ์ Teleconference เท่าจำนวนจุดที่ต้องการประชุมและจะต้องใช้อุปกรณ์ควบคุมหลายจุด (Multi-Point Control Unit : MCU) ช่วยการตัดภาพระหว่างจุดแต่ละจุด อุปกรณ์นี้สามารถเชื่อมสัญญาณเข้าด้วยกันได้ โดยทำหน้าที่เป็นทั้งเครื่องรับและเครื่องส่งภายในเครื่องเดียวกัน ส่งสัญญาณผ่านเคเบิ้ลใยแก้วนำแสงหรือผ่านระบบโครงข่าย ISDN
            นอกจากนี้จากการที่ได้มีโอกาสไปศึกษาดูงาน ชิน ฟันแฟร์ (Shin Fun Fair) ทำให้ได้ทราบถึงเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนยุคใหม่คือ เครือข่ายศูนย์การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม(Distance Learning via Satellite) ดำเนินงานโดย บริษัท ชิน บรอดแบรนด์ อินเตอร์เน็ต (ประเทศไทยจำกัด) นำเสนอเทคโนโลยีล่าสุดของการเรียนการสอนยุคใหม่เป็นครั้งแรกใน ประเทศไทย โดยใช้โครงการเทคโนโลยีบรอดแบรนด์ Ipstar หรือ Internet ความเร็วสูงผ่านดาวเทียม แบบ 2 ทาง (Interactive) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนทั้งภาพ เสียง และข้อมูล โดยเปิดโอกาสให้มีการโต้ตอบระหว่างผู้สอนจากศูนย์ iLearn ในกรุงเทพมหานคร และผู้เรียนที่อยู่ ณ ศูนย์ iLearn ในต่างจังหวัดเสมือนเรียนอยู่ในห้องเดียวกัน
            โดยศูนย์การเรียนการสอน I Learn ในจังหวัดต่างๆ ส่งผ่านข้อมูลผ่านทาง IPStar Gatewey แล้วผ่านไปยัง Fiber Opic แล้วส่งต่อไปยังสถานีแม่ข่ายเพื่อออกอากาศหลักสูตรการสอน และการอบรม (แหล่งที่มา www.ilearn.in.th)
            ยิ่งไปกว่านั้นหากมองในอีกแง่มุมหนึ่งของการศึกษาทางไกลนอกเหนือจากการศึกษาทางไกลผ่านทางเทคโนโลยีโทรประชุมทางไกล (Video Conference) การศึกษาทางไกลผ่านทางดาวเทียม การศึกษาทางไกลผ่านทางสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ และโทรทัศน์ ดังที่ได้กล่าวถึงรายละเอียดต่าง ๆ ไว้ในตอนต้นแล้ว การศึกษาทางไกลอีกรูปแบบหนึ่งที่เป็นระบบการเรียนทางไกลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ที่นิยมเรียกกันว่า  E-Learning หรือ Electronic Learning ก็เป็นส่วนสำคัญและมีคุณค่ายิ่งต่อการจัดการศึกษาของไทยให้มีประสิทธิภาพ และเป็นไปอย่างทั่วถึงทุกคน ซึ่งเนื้อหาในส่วนต่อไปจะกล่าวถึงสาระที่สำคัญของ E – Learning ดังต่อไปนี้
            E-Learning หรือ Electronic Learning หมายถึง รูปแบบการเรียนการสอนแบบใหม่ ที่มี การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสื่ออิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่ มีวัตถุประสงค์ที่เอื้ออำนวยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้องค์ความรู้ (knowledge) ได้โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่  (Anywhere-Anytime Learning)  เพื่อให้ระบบการเรียนการสอนเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น   และเพื่อให้ผู้เรียนสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของกระบวนวิชาที่เรียนนั้น ๆ 
            รูปแบบการเรียนการสอน
1. การเรียนการสอนทางไกล (Distance Education) เป็นการเรียนการสอนที่ประยุกต์เทคโนโลยีหลาย ๆ อย่าง เช่น ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การประชุมทางไกลชนิดภาพและเสียง รวมถึงเอกสารต่าง ๆ เพื่อเข้าถึงผู้เรียนที่อยู่ห่างไกล
2. แบบมหาวิทยาลัยออนไลน์ เรียกว่า Online University หรือ Virtual University เป็นระบบการเรียนการสอนที่อยู่บนเครือข่ายในรูปเว็บเพจ มีการสร้างกระดานถาม-ตอบ อิเล็กทรอนิกส์ (Web Board)
3. การเรียนการสอนผ่านทางอินเตอร์เน็ตและเว็บเพจ (Online Learning, Internet Web Base Education) เป็นการนำเสนอเนื้อหาและการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอนโดยเน้นสื่อประสมหลาย ๆ อย่างเข้าด้วยกัน มีการสร้างสภาวะแวดล้อมที่ประสานงานกัน ให้ผู้เรียนและผู้สอนเข้าถึงฐานข้อมูลหลายชนิดได้ โดยผู้เรียนต้องควบคุมจังหวะการเรียนรู้ด้วยตนเองให้เป็น และเลือกเวลา สถานที่ในการเรียนรู้
            4. โครงข่ายการเรียนการสอนแบบอะซิงโครนัส (Asynchronous Learning Network : ALN) เป็นการเสียนการสอนที่ต้องการติดตามผลระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน โดยใช้การทดสอบบทเรียน เป็นตัวโต้ตอบ
           

ลักษณะของการสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นเนื้อหาสำหรับการเรียนการสอนผ่าน E-Learning ประกอบด้วย
          E-Book การสร้างหนังสือหรือเอกสารในรูปแบบสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อใช้ประโยชน์กับระบบการเรียนการสอนบนเครือข่าย
            Virtual Lab การสร้างห้องปฏิบัติการจำลองที่ผู้เรียนสามารถเข้ามาทำการทดลอง การทดลองอาจใช้วิธีการทาง simulation หรืออาจให้นักเรียนทดลองจริงตามคำแนะนำที่ให้
            Video และการกระจายแบบ Real/audio/video เป็นการสร้างเนื้อหาในรูปแบบวีดีโอ หรือบันทึกเป็นเสียงเพื่อเรียกผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์
            Virtual Classroom เป็นการสร้างห้องเรียนจำลองโดยใช้กระดานข่าวบนอินเตอร์เน็ตกระดานคุยหรือแม้แต่จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อประโยชน์การเรียนรู้ผ่านเครือข่าย
            Web base training การสร้างโฮมเพจหรือเว็บเพจเพื่อประโยชน์การเรียนการสอน
            E-library การสร้างห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ที่ให้บริการบนเครือข่ายได้
            ขณะนี้มีหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศที่ให้ความสนใจกับ E-Learning ทั้งที่มีการพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้ชื่อ http ://www.chulaonline.com และมหาวิทยาลัยรามคำแหง ภายใต้ชื่อโครงการ http ://www.ru.ac.th/learn โดยมีวัตถุประสงค์ในการใช้ระบบ E-Learning มาเสริมประสิทธิภาพให้กับระบบการเรียนทางไกลที่มีอยู่ในปัจจุบัน และในต่างประเทศได้มีการพัฒนา E-Learning มาพอสมควรแล้ว เช่น Australia Department of Education , Training and Youth Affairs ภายใต้ชื่อ http ://www.detya.gov.au/ เช่นกัน
           
            สรุปได้ว่าการเรียนรู้โดยผ่านเทคโนโลยีการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นั้น เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างมากสำหรับโลกยุคปัจจุบัน และ หลักของ E-Learning ก็คือ ระบบการเรียนทางไกลผ่านอินเตอร์เน็ตที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถเผยแพร่ข้อมูลได้อย่างกว้างขวาง ดังนั้น E-Learning จึงเป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่ช่วยพัฒนาแต่ละประเทศให้สามารถเข้าสู่สังคมยุค IT ได้อย่างมีประสิทธิภาพนอกจากนี้ เพื่อการศึกษาในหลากหลายรูปแบบ E-Learning จึงถูกนำมาใช้ในการเรียนการสอนมากยิ่งขึ้นเรื่อย ทั้งนี้ก็เพื่อจะเป็นการเตรียมความพร้อม ทรัพยากรมนุษย์ ให้พร้อมที่จะเข้าปรับตัวให้ทันต่อโลกยุคไร้พรมแดน และโลกในยุคต่อ ๆ ไปที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีการดำลงชีวิตของสังคมมนุษย์ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต

แนวโน้มการศึกษาทางไกล
สำหรับข้อมูลในส่วนของแนวโน้มของการศึกษาทางไกล ก่อนที่จะกล่าวถึงแนวโน้มที่ได้จากการวิเคราะห์ และสังเคราะห์จากข้อมูลที่ผ่านมาในอดีตและในปัจจุบันแล้ว แหล่งข้อมูลที่มีความสำคัญในอ้างอิง เพื่อให้แนวโน้มที่ได้มีการคาดการณ์ไว้ล่วงหน้านั้นมีความเชื่อถือได้ ผู้ศึกษาจึงต้องกล่าวถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแนวโน้มของเทคโนโลยีการศึกษา ที่ยกมาพอสังเขปดังนี้
            งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
            น้ำทิพย์ สุนทรนันท (2534) แนวโน้มการพัฒนาสื่อสำหรับการศึกษาทางไกลของกรมการศึกษานอกโรงเรียน (Trends of Media Development for Distance Education of  Non-formal Education Department) การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับแนวโน้มในการพัฒนาสื่อสำหรับการศึกษาทางไกลของกรมการศึกษานอกโรงเรียนในอีก 10 ปี ในด้านนโยบายการใช้สื่อการศึกษาทางไกล การบริหารและการจัดการสื่อการศึกษาทางไกล งบประมาณการสำหรับสื่อการศึกษาทางไกล ประเภทของสื่อการศึกษาทางไกล และบุคลากรด้านสื่อการศึกษาทางไกล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อสำหรับการศึกษาทางไกลจำนวน 36 คน ดำเนินการวิจัยโดยใช้เทคนิคเดลฟาย ให้ผู้เชี่ยวชาญแสดงความคิดเห็นจำนวน 3 รอบ โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
            จากแนวโน้มทั้งหมด 110 ข้อ ผู้เชี่ยวชาญเห็นสมควรให้ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติได้ 84 ข้อ แบ่งเป็น
            ด้านนโยบายการใช้สื่อการศึกษาทางไกล                             27   ข้อ
            ด้านการบริหารและการจัดการสื่อการศึกษาทางไกล  18   ข้อ
            ด้านงบประมาณ                                                                7   ข้อ
            ด้านประเภทของสื่อการศึกษาทางไกล                                27   ข้อ
            ด้านบุคลากรสื่อการศึกษาทางไกล                                        5   ข้อ
            ณรงค์ จิตวิศรุตกุล (2535) การศึกษาการดำเนินงานตามโครงการนิเทศทางไกลของสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดลำปาง (A Student of the Implementation of the Project for Distance Supervision of the Office of Lampang Provincial Primary Education) การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาการดำเนินงานและปัญหาการดำเนินงานตามโครงการนิเทศทางไกลของสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดลำปอง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยทั้งหมด 612 คน ได้แก่ ศึกษานิเทศก์ อำเภอผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้บริหารโรงเรียนและหัวหน้าศูนย์วิชาการกลุ่มโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์อย่างมีโครงสร้าง แบบสอบถามและแบบศึกษาเอกสาร ผลการวิจัยมีการสร้างสื่อนิเทศทางไกลประเภทสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุสื่อสารและโทรทัศน์ ส่งไปยังผู้รับการนิเทศเพื่อให้เผยแพร่ในโรงเรียน สำหรับปัญหาที่พบได้แก่ ขาดงบประมาณ ความล่าช้าในการส่งสื่อและขาดระบบการรับที่ดี
            ชวลิต บัวรัมย์ (2540) แนวโน้มด้านเทคโนโลยีทางการศึกษาแบบสื่อสารทางไกลของประเทศไทยในปี พ.. 2550 โดยใช้เทคนิคเดลฟาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้เชี่ยวชาญทางเทคโนโลยีการศึกษา จำนวน 18 ท่าน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
            1. แนวโน้มด้านโทรทัศน์การศึกษา ใช้ดาวเทียม เส้นใยแก้วนำแสง สารเคเบิลเป็นสื่อสัญญาณถ่ายทอดรายการโทรทัศน์ จะเน้นเสนอเป็นรายการสด นำเอาระบบมัลติมีเดีย Digital Video Disk , Web TV เข้ามาเสริมกับโทรทัศน์โดยการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต เนื้อหาเป็นลักษณะ Package ซึ่งจะครอบคลุมทุกพื้นที่ในประเทศไทย เครื่องรับโทรทัศน์มีขนาดจอ 29 นิ้วขึ้นไป พร้อมกับมีเครื่องเล่น Video CD และสามารถเชื่อมต่อกับเคเบิลทีวีได้
            2. แนวโน้มด้านโทรศัพท์เพื่อการศึกษา จะเปลี่ยนจากระบบอนาลอกมาใช้ระบบ ISDN ทั้งหมด ซึ่งจะเป็นการรวมโทรศัพท์ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ เข้าด้วยกัน เป็นการนำความรู้จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง โดยไม่มีขีดจำกัดด้วยเวลาและระยะทาง อยู่ในรูปของสื่อทันสมัยมัลติมีเดีย ซึ่งสามารถใช้โทรศัพท์เป็นการเจาะข้อมูลเรียนรู้ด้วยตนเอง
            3. แนวโน้มด้านดาวเทียมเพื่อการศึกษา ทำให้คนไทยเรียนรู้ภาษาอังกฤษและภาษาอื่น ๆ ได้มากขึ้น โดยไม่ต้องเป็นสมาชิกมีความเป็นระหว่างประเทศ เครื่องรับสัญญาณดาวเทียม และค่าใช่บริการจะถูกลง ใช้แพร่หลายทั่วประเทศทุกระดับชั้นการศึกษา โดยเฉพาะโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาอยู่ในพื้นที่ชนบทห่างไกล
            4. แนวโน้มด้านการประชุมทางไกลเพื่อการศึกษา ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยในการควบคุมการทำงาน ใช้ในการเรียนการสอนและฝึกอบรมระหว่างมหาวิทยาลัยหรือวิทยาเขตของตนเองที่ขยายไปยังจังหวัดอื่น ๆ การสอนเป็นแบบกลุ่มใหญ่ มีการนำระบบอินเตอร์เน็ตมาใช้ร่วมการประชุมทางไกลในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษามีการใช้น้อยมากครูผู้สอนยังมีความจำเป็นในการสอนอยู่
            5. แนวโน้มด้านอินเตอร์เน็ตเพื่อการศึกษา มีแหล่งทรัพยากรความรู้หลากหลายในการค้นคว้าจะแพร่หลายเป็นที่นิยมกันกว้างขวางทั่วประเทศ มีบทบาทในการแลกเปลี่ยนความรู้ผ่านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ มีการติดตั้งระบบเครือข่ายสารสนเทศภายในองค์กรเพื่อเป็นการรองรับระบบ Video on Demand และระบบเรียกผ่าน CAI on Internet

            จากการค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแนวโน้มของการศึกษาทางไกลทำให้สามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์ถึงแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคตที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีด้านการศึกษาทางไกล ดังต่อไปนี้
            1. แนวโน้มด้านวิทยุเพื่อการศึกษา
            โดยภาพรวมแนวโน้มเทคโนโลยีด้านการศึกษาทางไกลทางด้านวิทยุเพื่อการศึกษา จะมีสถานีวิทยุกระจายเสียง ที่ผู้เรียนสามารถสอบถามอาจารย์ผ่านทาง E-Mail ได้ สถานีวิทยุกระจายเสียงจะต่อกับระบบ Internet Radio เพื่อใช้ร่วมกันได้ทุกพื้นที่ เทปคำบรรยายสรุปจะมีบทบาทร่วมกับวิทยุการศึกษามากขึ้น ม้วนเทปที่ใช้บันทึกรายการวิทยุจะเปลี่ยนเป็นแผ่น CD สถานีวิทยุจะต่อเข้ากับเครือข่ายบริการร่วมระบบดิจิตอล (ISDN)
            วิทยุเพื่อการศึกษาจะเป็นสื่อหลักอย่างหนึ่งในการศึกษาทางไกล ของทุกหน่วยงานการศึกษา ทั้งหน่วยงานของกระทรวงศึกษาธิการ และทบวงมหาวิทยาลัยจะสนับสนุนให้มีการศึกษาวิจัยด้านวิทยุการศึกษามากขึ้น มีคณะกรรมการควบคุมและประเมินผลการใช้สื่อด้านวิทยุการศึกษาตลอดจนเพิ่มงบประมาณด้านวิทยุการศึกษามากขึ้น
            2. แนวโน้มทางด้านโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
            โดยภาพรวมแนวโน้มเทคโนโลยีด้านการศึกษาทางไกลทางด้านโทรทัศน์เพื่อการศึกษาระบบโทรทัศน์จะต่อเข้ากับระบบ Internet Television และเปลี่ยนจากระบบ Analog มาเป็นระบบ Digital Television (DTV) โทรทัศน์ โทรศัพท์ และคอมพิวเตอร์ จะเชื่อมเป็นหนึ่งเดียวกันจะทำให้การเรียนการสอนไม่มีขีดจำกัดในเรื่องระยะทางและเวลา ระบบโทรทัศน์จะเข้าสู่ระบบ Internet Television สามารถจัดการเรียนการสอนในระบบ Course on Demand โดยอาศัย Cable Television Network และระบบโทรทัศน์จะใช้ Band Width ต่ำเพื่อประหยัดด้านทรัพยากรความถี่ วัสดุอุปกรณ์ด้านโทรทัศน์การศึกษาจะเป็นลักษณะสื่อประสมเป็นการใช้สื่อแบบผสมผสานนำเสนอให้ผู้เรียนรู้ได้กว้างขวางและเข้าใจง่ายโดยจัดเป็นรูปของสื่อสำเร็จรูป มีการใช้ชุดการเรียนแบบ Interactive Television มีการนำอุปกรณ์ที่ใช้ระบบ DVD (Digital Video Disk) มาใช้ร่วม เครื่องรับโทรทัศน์จะนิยมใช้จอภาพขนาด 29 นิ้วขึ้นไป และใช้ร่วมกับเครื่องเล่น Video Compact Disc และมีอุปกรณ์แปลงสัญญาณของระบบ Cable Television
            โทรทัศน์เพื่อการศึกษาจะเป็นสื่อหลักอย่างหนึ่งในการศึกษาทางไกลอย่างที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงมีนโยบายในการสนับสนุนให้มีการศึกษาวิจัยทางด้านโทรทัศน์การศึกษา จัดงบประมาณเพิ่มมากขึ้น ร่วมกันหน่วยงานของเอกชนและหน่วยงานของรัฐบาลเพื่อจัดระบบโทรทัศน์การศึกษาให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น มีคณะกรรมการควบคุมและประเมินผลการใช้สื่อด้านโทรทัศน์เพื่อการศึกษาและให้มีศูนย์โทรทัศน์เพื่อการศึกษาเกิดขึ้นตามสาขาวิทยบริการต่าง ๆ
            3. แนวโน้มทางด้านการประชุมทางไกลเพื่อการศึกษา
            โดยภาพรวมแนวโน้มเทคโนโลยีด้านการศึกษาทางไกลทางด้านการประชุมทางไกลเพื่อการศึกษา วิธีการของการประชุมทางไกลจะใช้ผ่านดาวเทียมและสายโทรศัพท์ที่เป็นระบบดิจิตอล และใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวควบคุมการประชุมทางไกลจะมีบทบาทมากในการศึกษาอบรม สัมมนา และการจัดการเรียนการสอน เป็นกลุ่มย่อย เป็นกลุ่มใหญ่ หรือมวลชน ตั้งแต่ระดับปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอก ทำให้สามารถรับนักศึกษาปริญญาตรีและปริญญาโทเข้าเรียนได้โดยไม่จำกัดจำนวนรูปแบบการจัดการเรียนการสอนจะเปลี่ยนเป็นแนว Any Time / Anywhere ซึ่งในส่วนของทบวงมหาวิทยาลัย บุคลากรของมหาวิทยาลัยจะพร้อมเข้าสู่ระบบ E-University จะมีการนำระบบโทรศัพท์มือถือที่มีกล้องขนาดเล็กติดอยู่มาประยุกต์ใช้กับระบบการสอนทางไกล การขยายเครือข่ายทำได้ง่ายและประหยัด เทคโนโลยีบีบอัดสัญญาณทำให้ลดขนาดของสัญญาณสื่อสารภาพและเสียงจะมีประสิทธิภาพสูง และมีการจัดตั้งสถานีการสื่อสารทางไกลระบบ 2 ทางเพื่อการศึกษาบนเครือข่ายบริการร่วมระบบดิจิตอล (ISDN) และอินเตอร์เน็ต
           
            นอกจากนี้จะขอกล่าวเพิ่มเติมถึงในข้อมูลของรายงานการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง บทบาทและแนวทางการพัฒนาการศึกษาทางไกลของกระทรวงศึกษาธิการในประเด็นการอภิปราย รูปแบบและแนวทางการใช้สื่อทางการศึกษาทางไกลเพื่อการเรียนรู้ในอนาคตสรุปได้ใน 3 ประเด็น ดังนี้
                   1. ประเภทของสื่อ สื่อการศึกษาทางไกลเพื่อการเรียนรู้ในอนาคต ควรมีลักษณะที่เป็นสื่อประสม มีความหลากหลายรูปแบบ หลายประเภทให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายและสภาพการพัฒนาของประเทศและเทคโนโลยีทางการศึกษา ทั้งในส่วนของสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ
                        2. กลุ่มเป้าหมาย ในเรื่องของกลุ่มเป้าหมายที่ควรได้รับการบริการสื่อการศึกษาทางไกลเพื่อการเรียนรู้นั้น ควรยึดกลุ่มเป้าหมายที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 ได้แก่ นักเรียนในระบบโรงเรียน นักศึกษานอกระบบโรงเรียน และประชาชนทั่วไป
                        3. แนวทางการใช้บริการ ในการดำเนินการให้บริการสื่อการศึกษาทางไกลเพื่อการเรียนรู้ควรดำเนินการดังนี้
                        3.1 การกระตุ้นให้เกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญของการใช้สื่อการศึกษาทางไกลเพื่อการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ โดยการประชาสัมพันธ์ การเผยแพร่ตารางออกอากาศการสำรวจความต้องการในการใช้สื่อการศึกษาทางไกล และการประเมินผลการใช้สื่อ
                        3.2 การจัดศูนย์บริการสื่อในระดับพื้นที่ ซึ่งสามารถให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมายได้ทุกเวลาและมีสื่อที่หลากหลาย จำนวนเพียงพอต่อความต้องการรับบริการของกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่
            สรุปได้ว่า การใช้สื่อการศึกษาทางไกลเพื่อการเรียนรู้นั้น สิ่งที่จำเป็นต่อการพัฒนาสื่อนั้น ผู้ผลิตสื่อจะต้องมีการติดตามประเมินผลการใช้สื่อนั้น ๆ อยู่ตลอดเวลา เพื่อจะได้นำข้อมูลมาปรับปรุงและพัฒนาสื่อให้สอดคล้องกับความต้องการและสภาพของผู้ใช้สื่อ ซึ่งสื่อการศึกษาทางไกลจะต้องมีลักษณะที่หลากหลายและสะดวกในการใช้งาน สามารถให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมายได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
            4. โยงกับ พ... เนื่องจากให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ด้วยตนเองจากสื่อต่าง ๆ เป็นการฝึกฝนให้ผู้เรียนมีวินัย และความรับผิดชอบ ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 และเป็นการดำเนินการจัดการศึกษาโดยส่วนกลางที่สอดคล้องกับมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) .. 2545 ซึ่งระบุไว้ในวรรค 2 ว่า
            ในกรณีที่เขตพื้นที่การศึกษาไม่อาจบริหารและจัดการศึกษาได้ตามวรรคหนึ่ง กระทรวงอาจจัดให้มี การศึกษาขั้นพื้นฐานดังต่อไปนี้ เพื่อเสริมสร้างการบริหารและจัดการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษาก็ได้” (4) การจัดการศึกษาทางไกลและการจัดการศึกษาที่ให้บริการในหลายเขตพื้นที่การศึกษาสถาบันการศึกษาทางไกลให้บริการการศึกษาเทียบเท่าการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาต่อเนื่องแก่ประชาชน กลุ่มเป้าหมาย ด้วยระบบวิธีการเรียนแบบทางไกลด้วยตนเอง โดยอาจต้องไปศึกษาค้นคว้าจากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ สถาบันการศึกษาทางไกลจึงได้จัดบริการสื่อหลากหลายประเภทไว้ในแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ ได้แก่ ห้องสมุดประชาชน ศูนย์การเรียน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองแก่นักศึกษาและประชาชนอย่างต่อเนื่อง

            แนวโน้มของรูปแบบการจัดการศึกษา จะมีลักษณะดังต่อไปนี้ (สุภาณี เส็งศรี, 2543)
            1. จัดการเรียนการสอนตามความพร้อมแบบไม่จำกัดเวลา สถานที่ โดยเน้นปริมาณแต่คำนึงถึงคุณภาพเพื่อมาตรฐานการศึกษา
            2. ปฏิรูปการเรียนรู้โดยมุ่งจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
            3. มุ่งพัฒนา จัดหา และส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในกระบวนการเรียนการสอนทางไกล เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเข้าถึงแหล่งวิทยาการอย่างอิสระ
            4. ลดข้อจำกัดทางการศึกษาโดยเฉพาะมุ่งเน้นความเท่าเทียมทางการศึกษาในทุกชุมชนและส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งลดปัญหาการขาดผู้สอนซึ่งมีความรู้ความสามารถ
            5. เน้นการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม มีระเบียบวินัย และรับผิดชอบต่อสังคม
            6. สร้างความร่วมมือระหว่างองค์กร/สถาบันต่าง ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนวิชาการทั้งระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และนานาชาติ

            แนวโน้มการศึกษาทางไกลในด้านการบริหารและการจัดการ การศึกษาทางไกลถือได้ว่าเป็นกระบวนการศึกษาต่อเนื่องตลอดชีวิต จำเป็นต้องมีการจัดระบบการจัดการที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ด้วยตนเอง รัฐควรเน้นในเรื่องการประสานงานและการระดมกำลังทั้งคนและความคิด มาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพราะในปัจจุบันการบริหารและการจัดการยังคงเน้นรูปแบบรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลาง ศูนย์กลางจะเป็นตัวควบคุมและสั่งการไปยังส่วนภูมิภาค ยังไม่มีการกระจายอำนาจที่ดีพอ การประสานงานต่าง ๆ ยังคงเกิดปัญหา อีกทั้งการจัดการศึกษาก็ไม่สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น ดังนั้นรัฐจึงควรมีการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นและภูมิภาค ระดมกำลังทั้งคนและความคิดเพื่อนำมาใช้ในการศึกษา มีการใช้ทรัพยากรที่ถูกต้องและเหมาะสม ซึ่งการบริหารงานแบบนี้จะทำให้ท้องถิ่นและภูมิภาคได้มีโอกาสและมีบทบาทในการกำหนดทิศทางในการบริหารและการจัดการทางการศึกษา ซึ่งการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นและภูมิภาคจะสร้างผลดีกว่าการบริหารและการจัดการแบบก่อนที่เน้นศูนย์กลางเป็นหลัก

            แนวโน้มการศึกษาทางไกลในด้านงบประมาณ ควรจะมีการเพิ่มงบประมาณในการผลิตวิจัย พัฒนาสื่อและบุคลากร การติดตามผลและการประเมินผล ควรมีการตั้งหน่วยงานขึ้นมารับผิดชอบในการจัดสรรงบประมาณ งบประมาณของการศึกษาทางไกลในอนาคตน่าจะได้รับงบประมาณมาจากภาครัฐและภาคเอกชน จึงควรมีการจัดสรรงบประมาณให้มีความเหมาะสม ถูกต้องและยุติธรรมเพื่อที่จะสามารถนำงบประมาณเหล่านั้น ไปพัฒนาการศึกษาทางไกลให้มีความเหมาะสมและให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

            แนวโน้มการศึกษาทางไกลในด้านประเภทของสื่อ
            สื่อคอมพิวเตอร์ ระบบ Internet ดาวเทียม และโทรทัศน์ น่าจะเป็นสื่อที่ใช้ในการศึกษาทางไกลมากที่สุด ซึ่งสื่อเหล่านี้จะเข้ามามีบทบาทแทนที่สื่อเก่า ๆ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวิทยุกระจายเสียง เป็นต้น
            ในปัจจุบันเทคโนโลยีได้มีความเจริญก้าวหน้าและพัฒนาไปมาก สื่อในการศึกษาทางไกลจึงมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคตามสมัย ซึ่งสื่อประเภทคอมพิวเตอร์และระบบ Imternet ระบบดาวเทียมและโทรทัศน์ ถือได้ว่าเป็นสื่อการเรียนการสอนสมัยใหม่ เป็นสื่อประสม ซึ่งทำให้ผู้สอนกับผู้เรียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กันได้ มีการโต้ตอบกันได้ และมีผลย้อนกลับ (Feed Back) ผู้เรียนเกิดความสนใจและอยากที่จะเรียนรู้ตลอดเวลา อีกทั้งในระหว่างการเรียนการสอน ผู้เรียนถ้าเกิดไม่เข้าใจหรือสงสัยเกี่ยวกับเนื้อหาของวิชา ก็สามารถที่จะสอบถามกับผู้สอนได้ทันที แต่สื่อในลักษณะนี้ยังมีราคาที่ค่อนข้างสูง และยังมีไม่แพร่หลายมากนัก ดังนั้น สื่อการศึกษาทางไกลควรจะเน้นให้มีการสื่อสารในลักษณะที่เป็นผลย้อนกลับ ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน เพราะความแตกต่างของระดับการเรียนรู้ของผู้เรียนจะเห็นได้ว่า คนเราสามารถจำในสิ่งที่ตนอ่านได้เพียงร้อยละ 10 จำในสิ่งที่ได้ยินร้อยละ 20 จำในสิ่งที่ได้เห็นร้อยละ 30 จำในสิ่งที่ได้ยินและได้เห็นร้อยละ 50 จำในสิ่งที่พูดร้อยละ 70 จำในสิ่งที่พูดและปฏิบัติร้อยละ 90 (Raudsepp 1979 อ้างถึงใน น้ำทิพย์ สุนทรนันทา 2534) ซึ่งแสดงว่า สื่อที่ใช้ในกระบวนการเรียนการสอนถ้าเป็นสื่อที่ให้ผู้เรียนสามารถปฏิบัติได้ ยิ่งปฏิบัติได้มากเท่าใดก็จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มากยิ่งขึ้นเท่านั้น ดังนั้นสามารถสรุปได้ว่า สื่อการสอนแบบเก่าที่เป็นแบบสื่อทางเดียว จะทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพต่ำ และสื่อสมัยใหม่ที่เป็นลักษณะสองทางจะทำให้ผู้เรียนเกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้มากกว่า
            แนวโน้มการศึกษาทางไกลในด้านบุคลากร ในการศึกษาทางไกล จำเป็นต้องมีบุคคลกลุ่มต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการศึกษาทางไกล ซึ่งได้แก่
            นักเทคโนโลยี
          นักเทคโนโลยีถือได้ว่ามีบทบาทอย่างมากในการจัดการศึกษาทางไกล เพราะนักเทคโนโลยีจะอยู่ในฐานะ ผู้ผลิต ผู้พัฒนา ผู้ใช้และผู้ให้บริการ
            การศึกษาในปัจจุบันและในอนาคต จะเปิดโอกาสให้ทุกคนได้มีโอกาสได้เรียน รัฐก็ให้ความสำคัญกับการศึกษา เพราะ คนเราสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต นักเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษาทางไกล และจะมีบทบาทสำคัญมากในอนาคต เพราะ นักเทคโนโลยีอยู่ในฐานะ ผู้ผลิต สื่อที่ใช้ในการเรียนการสอนทางไกล ต้องมีการผลิตสื่อที่มีความเหมาะสมกับผู้เรียน สื่อการเรียนการสอนที่ดีเรียนแล้วเกิดประสิทธิภาพในการเรียนมากยิ่งขึ้น การเรียนก็จะประสบความสำเร็จ ดังนั้นนักเทคโนโลยีต้องมีการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทางการศึกษา เรื่องเทคโนโลยี เพื่อนำสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มาสร้าง พัฒนาและปรับปรุง สื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ เมื่อผู้เรียนนำไปใช้ในการศึกษาแล้วทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
            จากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 หมวด 9 มาตรา 63 นั้น นักเทคโนโลยีการศึกษาอาจถือได้ว่าเป็น ผู้ใช้ เพราะรัฐได้มีการจัดสรรคลื่นความถี่ สื่อตัวนำและโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วิทยุโทรคมนาคม และการสื่อสารในรูปอื่น เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย การทะนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมตามความจำเป็น ดังนั้นนักเทคโนโลยีการศึกษา จึงสามารถที่จะใช้คลื่นความถี่ สื่อตัวนำ หรือโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วิทยุโทรคมนาคม หรือสื่ออื่น ๆ เพื่อนำสื่อต่าง ๆ เหล่านี้มาใช้ในการศึกษาทางไกล เพื่อให้การศึกษาทางไกลเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การศึกษาทางไกลจะเป็นการขยายโอกาสทางการศึกษา ให้ผู้เรียนที่อยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศไทย ได้มีโอกาสที่จะได้รับการศึกษา อีกทั้งยังสามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนอาจารย์หรือครูผู้สอนได้อีกด้วย การเรียนการสอนทางไกลทำให้เกิดความเสมอภาคทางการศึกษา เป็นการกระจายการศึกษาไปสู่ทุกภูมิภาคของประเทศโดยเฉพาะชุมชนที่อยู่ห่างไกล เป็นการศึกษาตลอดชีวิต บุคคลทั่วไปที่สนใจสามารถเรียนรู้ได้ ซึ่งจัดได้ว่าเป็นการพัฒนาคุณภาพประชากรของประเทศได้อีกทางหนึ่ง อีกทั้งการเรียนการสอนทางไกลยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายของผู้สอนหรือครูที่จะต้องเดินทางไปสอน และของผู้เรียนหรือนักเรียนที่จะต้องเดินทางมาเรียนได้อีกทางหนึ่ง แต่เมื่อรัฐได้มีการจัดสรรคลื่นความถี่แล้ว ก้ต้องมีมาตรการที่คอยระวังไม่ให้พวกที่ทุจริต นำเอาสื่อต่าง ๆ ไปใช้ในทางที่ผิดหรือเพื่อประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง เจตนาที่ดีของรัฐอาจจะกลายเป็นเครื่องมือของกลุ่มบุคคลบางกลุ่มได้ และในอนาคตเทคโนโลยีต้องมีความเจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น นักเทคโนโลยีต้องมีการติดตามข่าวสารและเรียนรู้เทคโนโลยีอยู่ตลอดเวลาเพื่อที่จะสามารถทำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เหล่านั้นมาใช้ในการศึกษาทางไกลให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป
            สังคมในปัจจุบัน ได้กลายเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ การจัดการฝึกอบรม ก็ถือได้ว่า เป็นหน้าที่ของนักเทคโนโลยีเพราะนักเทคโนโลยีจะอยู่ในฐานะ ผู้ให้บริการ เพราะในการศึกษาทางไกล จำเป็นต้องมีการจัดการฝึกอบรมให้กับผู้สอน เพราะผู้สอนจำเป็นต้องมีการเรียนรู้เครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการเรียนการสอน เช่น การเรียนรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ระบบอินเตอร์เน็ต เป็นต้น เมื่อผู้สอนได้รับการฝึกอบรมไปแล้ว ก็จะสามารถรู้วิธีการใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในสอน และจะทำให้การเรียนการสอนทางไกลเกิดประสิทธิภาพตามไปด้วย

            ผู้สอนในการศึกษาทางไกล
            ครูหรือผู้สอนทางไกล มีแนวโน้มที่จะมีบทบาทมากขึ้นในอนาคต เพราะการศึกษาทางไกลได้เริ่มเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษาและกำลังเป็นที่ยอมรับ เช่น การจัดการศึกษาทางไกลของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ก็ถือได้ว่าเป็นการจัดการศึกษาทางไกลและเป็นที่ยอมรับของบุคคลทั่วไปและในอนาคตจะมีการขาย พัฒนา การศึกษาทางไกลมากขึ้นไปอีก ดังนั้นครูหรือผู้สอนจึงนับความมีความสำคัญเป็นอย่างมากในการศึกษาไกล ต้องมีการเตรียมการเรียนการสอนที่ดีเพื่อที่จะสามารถสอนผู้สอนให้มีความเข้าใจในบทเรียนนั้น ๆ และยังต้องมีการศึกษาและติดตามเทคโนโลยีอยู่เสมอเพื่อที่จะสามารถนำเทคโนโลยีมาปรับปรุงและนำมาใช้พัฒนาการศึกษาทางไกลให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้งแนวโน้มของระบบอินเตอร์เน็ตกำลังเข้ามามีบทบาทในการศึกษาทางไกลเป็นอย่างมากไม่ว่าจะเป็นการสืบค้าหาข้อมูลที่สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว มีความสะดวกสบายในการใช้งาน หรือจะใช้ E-Mail เป็นเครื่องมือในการติดต่อระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนได้ ครูหรือผู้สอนอาจใช้ประโยชน์จากระบบอินเตอร์เน็ตมาใช้ในการศึกษาทางไกล อาจจะเป็นการสร้าง Homepage ขึ้นมาเพื่อใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอน ถ้าหากผู้เรียนเกิดความไม่เข้าใจในการเรียนการสอน ผู้เรียนสามารถเข้ามาศึกษาเนื้อหาวิชาที่เรียนไปได้ตลอดเวลา หรืออาจจะมีการสอบถามเรื่องที่ไม่เข้าใจกับผู้สอนได้โดยทาง E-Mail หรือทาง Web-Board จะทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจเนื้อหาวิชาที่เรียนมากยิ่งขึ้น
            ในอนาคตระบบอินเตอร์เน็ตจะมีบทบาทในการจัดการศึกษาเป็นอย่างมาก เทคโนโลยีจะมีการพัฒนามากยิ่งขึ้น การติดต่อสื่อสารสามารถทำได้ง่าย ปัจจุบันผู้สอนสามารถสอนหนังสือผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ตซึ่งก็คือ การศึกษาทางไกล ทำให้เป็นการกระจายความรู้ไปสู่ชนบท ภูมีภาคต่าง ๆ ให้มีความเท่าเทียมกันทางการศึกษา ไม่ใช่มีการกระจุกตัวอยู่แต่ในส่วนกลาง จากความคิดของพ่อแม่ที่ว่า ถ้าอยากให้ลูกเรียนหนังสือเก่ง ๆ ต้องส่งเข้ามาเรียนในกรุงเทพฯ ความคิดเหล่านี้กำลังจะเปลี่ยนไป เพราะการศึกษาทางไกลจะทำให้ทุกคนสามารถเรียนได้เท่าเทียมกันทั้งหมด แต่การที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีหรือไม่ดีนั้น ต้องขึ้นอยู่กับตัวผู้เรียนเองว่าให้ความสนใจกับการศึกษามากน้อยแค่ไหน
การสอนผ่านระบบอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันก็ถือได้ว่าดีในระดับหนึ่ง อาจจะมีการล่าช้าหรือกระตุกบ้างเป็นบางครั้งเพราะอาจเกิดจากการรีเลย์ของระบบ แต่ในอนาคตระบบอินเตอร์เน็ตคงได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นไปอีก อาจทำให้การส่งข้อมูลข่าวสารทำได้อย่างรวดเร็ว ฉับไว ไม่เกิดการผิดพลาดก็เป็นได้ ทำให้การศึกษาทางไกลมีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น
            อีกทั้งรัฐก็มีการสนับสนุนการศึกษามากยิ่งขึ้น ซึ่งในปัจจุบันจะเห็นได้จากการออก พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 และในอนาคตรัฐคงมีการส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนการสอนมากยิ่งขึ้น เพราะการศึกษาถือได้ว่าเป็นตัวแปรที่สำคัญที่จะทำให้คนมีความรู้ และถ้าคนเรามีความรู้ก็จะสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิต และประเทศชาติต่อไปในอนาคต
บรรณานุกรม

กิดานันท์ มลิทอง. เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชวนพิมพ์. 2540
กิดานันท์ มลิทอง. เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์, 2543          
เอกสารการสอนชุดวิชา เทคโนโลยีการสอน. นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2543
ชวลิต บัวรมย์. แนวโน้มด้านเทคโนโลยีทางการศึกษาแบบสื่อสารทางไกลของประเทศไทยในปี พ.. 2550.
            วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2540
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษากับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย
            สุโขทัยธรรมาธิราช นนทบุรี, 2536
            การบรรยายพิเศษ เรื่อง ระบบการเรียนทางไกลผ่านเครือข่าย Internet” คณะศึกษาศาสตร์
            มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2544
ณรงค์ จิตวิศรุตกุล การศึกษาดำเนินงานตามโครงการนิเทศทางไกลของสำนักการประถมศึกษา
          จังหวัดลำปาง. รวมบทคัดย่อวิทยานิพนธ์ ปีการศึกษา 2535 บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
            กรุงเทพมหานคร.
น้ำทิพย์ สุนทรนันท. แนวโน้มการพัฒนาสื่อสำหรับการศึกษาทางไกลของกรมการศึกษานอกโรงเรียน.
            รวมบทคัดย่อวิทยานิพนธ์ ปีการศึกษา 2534 บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ.
วิจิตร ศรีสอ้าน. การศึกษาทางไกล. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2529
สถาพร จันทเรนทร์. รายงานการวิจัย เรื่อง แนวโน้มเทคโนโลยีด้านการศึกษาทางไกลของมหาวิทยาลัย
            รามคำแหง ในปี พ.. 2552” สำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2543
สุจิตรา บุญอยู่. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับระบบการศึกษาทางไกลของนักศึกษาในโครงการเครือข่ายสาร
          สนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ปริญญา
            มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
สุภาณี เส็งศรี. การพัฒนาระบบการเรียนการสอนทางไกลในสถาบันอุดมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญา
            ดุษฎีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543.
ศึกษาธิการ,กระทรวง. บทบาทและแนวทางการพัฒนาการศึกษาทางไกลของกระทรวงศึกษาธิการ. รายงาน
            การสัมมนาทางวิชาการ. กรมการศึกษานอกโรงเรียน กรุงเทพมหานคร, 2546
แหล่งข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต